วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ความคิดสร้างสรรค์ของน้องฉัตร

พับกระดาษไดโนเสาร์ ( พี่แนน )

สำหรับคุณครูปฐมวัยทุกๆคน และเด็กปฐมวัยที่น่ารัก

ศุนย์เด็กเล็กในฝัน เป็นห้องเรียนที่เสริมสร้างจินตนาการและพัฒนาการทางด้านศิลปะได้ดีมาก

ครูอ้อม ตัวน้อย - กิจกรรมเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางด้านศิลปะของเด็ก


   เส้นทางศิลปะกับการพัฒนาเด็กอย่างเข้าใจ
ศิลปะเจ้าตัวน้อยสู่ศิลปินอารมณ์ดี*

ศาสตราจารย์ศรียา  นิยมธรรม
ข้าราชการบำนาญ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ลำดับของพัฒนาการทางศิลปะของเด็ก    
      ศิลปะจัดเป็นภาษาของมนุษย์ในอีกลักษณะหนึ่งด้วยเหตุที่ศิลปะสามารถเป็นสื่อโยงความคิดความ เข้าใจต่อกันของมวลมนุษย์ได้ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางภาษา การแสดงออกทางศิลปะมักจะแตกต่างกันออกไป  ตามแนวจินตนาการและการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล  นักจิตวิทยาส่วนมากเชื่อกันว่า  ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวและประจำตัวเชื่อกันว่า  ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวและประจำตัวสำหรับเด็ก  ซึ่งจะพัฒนาการไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและโอกาสที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กจะจัดสรรส่งเสริมให้ความคิดสร้างสรรค์นี้จะส่งผลสะท้อนถึงเด็กในหลายๆ  ด้าน  เช่น  ระดับความเชื่อมั่นในตนเองการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสติปัญญา  การแสดงออกเหล่านี้เราพอจะมองเห็นได้จากการวาดภาพระบายสี  การปั้น  เป็นต้น  วิคเตอร์โลเวนเฟลด์  (Victor  Lowenfeld) นักจิตวิทยาการศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะของเด็ก  และการคิดสร้างสรรค์จากงานทางศิลปะ  โดยให้เด็กแสดงออกทุกอย่างอย่างอิสระเขาทดลองกับเด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง  อายุตั้งแต่  2  ปีครึ่งขึ้นไปให้เด็กวาดภาพด้วยสีเทียน  จะสีอะไรก็ได้  พบว่าเด็กมีพัฒนาการในการวาดขีดเขี่ยเป็น 4 ขั้นด้วยกัน

1.ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) ประมาณอายุระหว่าง 2-4 ปี ขั้นนี้แบ่งระยะของพัฒนาการ  ได้ออกเป็น 4 ขั้น คือ

          ก. Disordered  Scribbling  (2  ปี)  การขีดเขียนยังเป็นแบบสะเปะสะปะ  กล่าวคือการขีดเขียนจะเป็นเส้นยุ่งเหยิง  โดยปราศจากความหมาย  ทั้งนี้เนื่องมาจากการประสานงานของกล้ามเนื้อยังไม่ดี  เช่น  การบังคับกล้ามเนื้อเล็กๆ  ยังไม่ได้ จะทดลองง่ายๆ  โดยให้เด็กวัยนี้กำมือ แล้วให้เด็กยกนิ้วที่ละนิ้ว  หรือสองนิ้วก็ได้  เด็กจะทำไม่ได้  หรือลองให้เด็กชกเรา  เด็กจะยกแขนชกพร้อมๆ กันทั้ง 2 แขน เป็นต้น

          ข. Longitudinal  Scribbling ขั้นขีดเป็นเส้นยาว เด็กจะเคลื่อนแขนขีดได้เป็นเส้นแนวยาว  ขีดเขี่ยซ้ำๆ หลายครั้ง  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  แสดงให้เห็นพัฒนาการทางกล้ามเนื้อว่าเด็กค่อยๆ ควบคุมกล้ามเนื้อของการเคลื่อนไหวของตนเองให้ดีขึ้น  ระยะนี้เด็กจะเริ่มรู้สึกสนุกและสนใจเป็นครั้งแรก
          ค.  Circular  Scribbling เป็นขั้นที่เด็กสามารถขีดลากเป็นวงกลมระยะนี้การประสานงานของกล้ามเนื้อ  (motor Coordination) ดีขึ้นการประสานงานของกล้ามเนื้อมือและสายตา (Eye-hand  Coordination)  ดีขึ้นเด็กสามารถขีดเส้น ซึ่งมีเค้าเป็นวงกลมเป็นวงกลมเป็นระยะเด็กเคลื่อนไหวได้ตลอดทั้งแขน
          ง.  Noming Scribbling  ขั้นให้ชื่อรอยขีดเขียน  การขีดเขียนชักมีความหมายขึ้น  เช่น  จะวาดเป็นรูป  น้อง  พี่  พ่อ  แม่  ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก  ขณะขีดเขียนไปเด็กก็จะบรรยายไปด้วย  ถ่ายทอดออกมาในรูปการขีดเขียนและความคิดคำนึงในภาพ       พัฒนาการทั้ง 4 ระยะนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละบุคคลไปคงตัวเสมอไป เด็กที่มีพัฒนาการขึ้นเร็วจะถึงขั้น Noming Scribbling ก่อนซึ่งนับเป็นขั้นพัฒนาการที่สำคัญมาก จากการใช้ความคิดนึกคิดในการเคลื่อนไหวของเด็ก ทั้งๆที่ภาพนั้นจะไม่เป็นรูปร่างดังกล่าวเลย ซึ่งเด็กจะบรรลุถึงขั้นนี้เมื่อใกล้ 4  ขวบ

2.ขั้นเริ่มขีดเขียน  (Pre-Schematic  Stage)  (4-7  ปี)  เป็นระยะเริ่มต้นการขีดเขียนภาพอย่างมีความหมาย  การขีดเขียนจะปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น  สัมพันธ์กับความจริงของโลกภายนอกมากขึ้น  มีความหมายกับเด็กมากขึ้น  ซึ่งจะสังเกตได้จาก        

          ก.คนที่วาดอาจเป็น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  ตุ๊กตาที่รัก  ฯลฯ    

          ข.ชอบใช้สีที่สะดุดตาไม่คำนึงถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติการแล้วแต่สีไหนประทับใจ  ค.  ช่องไฟ  (Space) ภายในภาพยังไม่เป็นระเบียบสิ่งที่เขียนมักกระจัดกระจาย
          ง.การออกแบบ  (Design) ไม่ค่อยมีหรือไม่มีเอาเลย แล้วแต่จะนึกคิดหรือคิดว่าเป็นอย่าง
นั้นอย่างนี้
       
3.ขั้นขีดเขียน  (Schematic  Stage)  (7-9  ปี)  เป็นขั้นที่ขีดเขียนให้คล้ายของจริง  และความ
เป็นจริงจะพิจารณาได้ตามลำดับดังนี้        

           ก.  คน  รูปที่ออกมาจะแสดงพอเป็นสัญลักษณ์  ถ้าวาดรูปคนเราอาจไม่รู้ว่าเป็นคนรูปคน  และภาพที่ออกมาเป็นรูปทรงเรขาคณิต  เช่น ส่วนใดที่เด็กเห็นว่าสำคัญ น่าสนใจก็จะวาดส่วนใหญ่เป็นพิเศษ  ส่วนไหนที่ไม่สำคัญอาจตัดทิ้งไปเลย  ฉะนั้นเราจะเห็นเด็กวัยนี้วาดภาพส่วนต่างๆ  ขาดหายไป  เช่น  ลำตัว ขา เท้า ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรเลย บางทีอาจเป็นเด็กหัวโต ตาโต แขนโต ฯลฯ แล้วแต่เด็กจะให้ความสำคัญอะไรและบางที่ในรูปหนึ่งจะย้ำหลายๆ อย่าง(ซ้ำกัน) ในภาพ    

           ข.การใช้สี  ส่วนมากใช้สีตรงกับความจริง  แต่มักใช้สีเดียวตลอด  เช่น  พระอาทิตย์ต้องสีแดงตลอด  ท้องฟ้าต้องสีฟ้าตลอด  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้ใช้สีได้ถูกต้อง  และตรงกับความเป็นจริงขึ้น  ถ้าใบไม้สดต้องสีเขียว  ถ้าใบไม้แห้งต้องสีน้ำตาล  เป็นต้น      

           ค.ช่องวาง  (Space)  มีการใช้เส้นฐาน  (based  line)  แล้วเขียนทุกอย่างสัมพันธ์กันบนเส้นฐาน  เช่น  วาดรูป  คน  สุนัข  ต้นไม้  บ้าน  อยู่บนเส้นเดียวกัน ภาพที่ออกมาจะเป็นแบบลำดับเหตุการณ์  ส่วนสูง  ขนาด  ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน  เช่น  ดวงอาทิตย์  อยู่บนขอบของกระดาษ  รูปคนก็อาจสูงถึงใกล้ขอบกระดาษ  เป็นต้น        

            ง.งานออกแบบ  ไม่ค่อยดี  มักจะเขียนตามลักษณะที่ตนพอใจ
 
4.ขั้นวาดภาพของจริง (The  Drawing  Realism)  (9-11  ปี) เป็นขั้นเริ่มต้นการขีดเขียนอย่างของจริงเนื่องจากระยะนี้ตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ  เด็กเริ่มรวมกลุ่มกัน  โดยแยกชาย  หญิง  เด็กผู้ชาย  ชอบผาดโผน  เดินทางไกล  เด็กผู้หญิงสนใจเครื่องแต่งตัวเพื่อแต่งตัวงานรื่นเริง  ฉะนั้นการขีดเขียนจะแสดงออกในทำนองต่อไปนี้คือ          

            ก.คน จะเน้นเรื่องเพศด้วยเครื่องแต่งตัว แต่กระด้าง  ๆ      

            ข.สี  ใช้ตามความเป็นจริง  แต่อาจเพิ่มความรู้สึก  เช่น  บ้านคนจนอาจใช้สีมัว  ๆ  บ้านคนรวยอาจใช้สีสดๆ มีชีวิตชีวา  

            ค.ช่องว่าง  ทุกอย่างในช่องว่างเหลื่อมล้ำกันได้  เช่น  ต้นไม้บังฟ้าได้  วาดฟ้าคลุมไปถึงดินเส้นระดับ (Based  Line) ค่อยๆ หายไป รูปผู้หญิงมักเน้นลวดลาย เครื่องแต่งกายมีดอกดวง รูปผู้ชายก็ต้องเป็นรูปคาวบอย การจัดวัตถุให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องสำคัญมากในระยะนี้  เพราะเป็นระยะแรกของการพัฒนาการทางการรับรู้ทางสายตา  ซึ่งจะนำไปสู่การวาดภาพสามมิติได้อีกต่อหนึ่ง    

            ง.การออกแบบ  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้การออกแบบดีขึ้น  เป็นธรรมชาติขึ้นรู้จักการวางหน้าที่ของวัตถุต่างๆ

5.ขั้นการใช้เหตุผล (The Stage of Reasoning) (11-12  ปี) ขั้นการใช้เหตุผล ระยะเข้าสู่วัยรุ่น  เป็นระยะที่เด็กแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัว เช่น เอาบรรทัด ดินสอมาร่อนแล้วทำเสียงอย่างเครื่องบินเป็นต้น เด็กจะทำอย่างเป็นอิสระ  และสนุกสนาน  ถ้าผู้ใหญ่ทำก็เท่ากับไม่เต็มบาท ถ้าพิจารณาจากขั้นนี้จะสังเกตว่า            

            ก.การวาดคน  จะเห็นข้อต่อของคน  ซึ่งเป็นระยะเด็กเริ่มค้นพบ  เสื้อผ้าก็มีรอยพลิ้วไหว  มีรอยย่น รอยยับ คนแก่-เด็ก ต่างกันด้านสัดส่วนก็ใกล้ความจริงขึ้นมีรายละเอียดมากขึ้นแต่รายละเอียดที่จำเป็นเท่านั้นเน้นส่วนสำคัญที่เกินความจริง ชอบวาดตนเองแสดงความรู้สึกทางร่างกายมากกว่าคุณลักษณะภายนอก          

            ข.สี แบ่งเป็น 2  พวก พวกแรกจะใช้สีตามความเป็นจริง (Visually  Minded)ส่วนอีกพวก  (Non  visually  minded) มักใช้สีตามอารมณ์และความรู้สึกตนเอง เช่น ตอนเศร้าตอนมีความสุข มักแสดงออกโดยเน้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับโลกภายนอก นับเป็นงานแสดงออกซึ่งการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ            

            ค.ช่องว่าง  พวก  Visually  Minded  รู้จักเส้นระดับ  รูปเริ่มมี 3 มิติโดยการจัดขนาดวัตถุเล็กลงตามลำดับ  ระยะใกล้ไกล  ส่วนพวก  Non  Visually  Minded  ไม่ค่อยใช้รูป 3 มิติชอบวาดภาพคนและมักเขียนโดยใช้ตนเองเป็นผู้แสดง  สิ่งแวดล้อมจะเขียนเมื่อจำเป็นหรือเห็นว่าสำคัญเท่านั้น  

            ง.การออกแบบ  พวก Visually Minded ชอบออกแบบทางสวยงาม พวก Non Visually  Minded มองทางประโยชน์ อารมณ์แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่เข้าใจการออกแบบอย่างจริงจัง

                                                                          ………………………………………


เอกสารอ้างอิง

ศรียา นิยมธรรม.  (2544 ).  ศิลปะกับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.

การวาดภาพระบายสีในเด็กปฐมวัย


    
 จุดประสงค์ของการวาดภาพระบายสี สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังมีจุดประสงค์อื่นๆอีก เช่น เป็นการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือและตา ฝึกการลากเส้นและรูปทรงต่างๆ ฝึกการใช้สี ทดลองสี ผสมสีต่างๆ ส่วนในด้านอารมณ์ จิตใจทำให้ผ่อนคลายความเครียด ลดความกดดันทางอารมณ์และส่งเสริมให้มีจิตใจที่ดีงาม และทางสังคมฝึกการทำงานตามลำพังและการทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมการวาดภาพระบายสี เป็นการวาดภาพหรือระบายสี โดยใช้ดินสอสี สีเทียน สีน้ำ สีโปสเตอร์ พู่กัน ฯลฯ วาดบนกระดาษ หรือวัสดุแทนอย่างอื่น สิ่งที่ครูควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมดังกล่าวคือ  ให้เด็กวาดภาพและระบายสีอย่างอิสระ  และให้เด็กเล่าสิ่งที่ทำเพื่อให้เด็กคิดก่อนลงมือทำ