วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ความคิดสร้างสรรค์ของน้องฉัตร

พับกระดาษไดโนเสาร์ ( พี่แนน )

สำหรับคุณครูปฐมวัยทุกๆคน และเด็กปฐมวัยที่น่ารัก

ศุนย์เด็กเล็กในฝัน เป็นห้องเรียนที่เสริมสร้างจินตนาการและพัฒนาการทางด้านศิลปะได้ดีมาก

ครูอ้อม ตัวน้อย - กิจกรรมเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางด้านศิลปะของเด็ก


   เส้นทางศิลปะกับการพัฒนาเด็กอย่างเข้าใจ
ศิลปะเจ้าตัวน้อยสู่ศิลปินอารมณ์ดี*

ศาสตราจารย์ศรียา  นิยมธรรม
ข้าราชการบำนาญ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ลำดับของพัฒนาการทางศิลปะของเด็ก    
      ศิลปะจัดเป็นภาษาของมนุษย์ในอีกลักษณะหนึ่งด้วยเหตุที่ศิลปะสามารถเป็นสื่อโยงความคิดความ เข้าใจต่อกันของมวลมนุษย์ได้ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางภาษา การแสดงออกทางศิลปะมักจะแตกต่างกันออกไป  ตามแนวจินตนาการและการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล  นักจิตวิทยาส่วนมากเชื่อกันว่า  ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวและประจำตัวเชื่อกันว่า  ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวและประจำตัวสำหรับเด็ก  ซึ่งจะพัฒนาการไปได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและโอกาสที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กจะจัดสรรส่งเสริมให้ความคิดสร้างสรรค์นี้จะส่งผลสะท้อนถึงเด็กในหลายๆ  ด้าน  เช่น  ระดับความเชื่อมั่นในตนเองการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสติปัญญา  การแสดงออกเหล่านี้เราพอจะมองเห็นได้จากการวาดภาพระบายสี  การปั้น  เป็นต้น  วิคเตอร์โลเวนเฟลด์  (Victor  Lowenfeld) นักจิตวิทยาการศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้างานทางด้านศิลปะของเด็ก  และการคิดสร้างสรรค์จากงานทางศิลปะ  โดยให้เด็กแสดงออกทุกอย่างอย่างอิสระเขาทดลองกับเด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง  อายุตั้งแต่  2  ปีครึ่งขึ้นไปให้เด็กวาดภาพด้วยสีเทียน  จะสีอะไรก็ได้  พบว่าเด็กมีพัฒนาการในการวาดขีดเขี่ยเป็น 4 ขั้นด้วยกัน

1.ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) ประมาณอายุระหว่าง 2-4 ปี ขั้นนี้แบ่งระยะของพัฒนาการ  ได้ออกเป็น 4 ขั้น คือ

          ก. Disordered  Scribbling  (2  ปี)  การขีดเขียนยังเป็นแบบสะเปะสะปะ  กล่าวคือการขีดเขียนจะเป็นเส้นยุ่งเหยิง  โดยปราศจากความหมาย  ทั้งนี้เนื่องมาจากการประสานงานของกล้ามเนื้อยังไม่ดี  เช่น  การบังคับกล้ามเนื้อเล็กๆ  ยังไม่ได้ จะทดลองง่ายๆ  โดยให้เด็กวัยนี้กำมือ แล้วให้เด็กยกนิ้วที่ละนิ้ว  หรือสองนิ้วก็ได้  เด็กจะทำไม่ได้  หรือลองให้เด็กชกเรา  เด็กจะยกแขนชกพร้อมๆ กันทั้ง 2 แขน เป็นต้น

          ข. Longitudinal  Scribbling ขั้นขีดเป็นเส้นยาว เด็กจะเคลื่อนแขนขีดได้เป็นเส้นแนวยาว  ขีดเขี่ยซ้ำๆ หลายครั้ง  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  แสดงให้เห็นพัฒนาการทางกล้ามเนื้อว่าเด็กค่อยๆ ควบคุมกล้ามเนื้อของการเคลื่อนไหวของตนเองให้ดีขึ้น  ระยะนี้เด็กจะเริ่มรู้สึกสนุกและสนใจเป็นครั้งแรก
          ค.  Circular  Scribbling เป็นขั้นที่เด็กสามารถขีดลากเป็นวงกลมระยะนี้การประสานงานของกล้ามเนื้อ  (motor Coordination) ดีขึ้นการประสานงานของกล้ามเนื้อมือและสายตา (Eye-hand  Coordination)  ดีขึ้นเด็กสามารถขีดเส้น ซึ่งมีเค้าเป็นวงกลมเป็นวงกลมเป็นระยะเด็กเคลื่อนไหวได้ตลอดทั้งแขน
          ง.  Noming Scribbling  ขั้นให้ชื่อรอยขีดเขียน  การขีดเขียนชักมีความหมายขึ้น  เช่น  จะวาดเป็นรูป  น้อง  พี่  พ่อ  แม่  ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก  ขณะขีดเขียนไปเด็กก็จะบรรยายไปด้วย  ถ่ายทอดออกมาในรูปการขีดเขียนและความคิดคำนึงในภาพ       พัฒนาการทั้ง 4 ระยะนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละบุคคลไปคงตัวเสมอไป เด็กที่มีพัฒนาการขึ้นเร็วจะถึงขั้น Noming Scribbling ก่อนซึ่งนับเป็นขั้นพัฒนาการที่สำคัญมาก จากการใช้ความคิดนึกคิดในการเคลื่อนไหวของเด็ก ทั้งๆที่ภาพนั้นจะไม่เป็นรูปร่างดังกล่าวเลย ซึ่งเด็กจะบรรลุถึงขั้นนี้เมื่อใกล้ 4  ขวบ

2.ขั้นเริ่มขีดเขียน  (Pre-Schematic  Stage)  (4-7  ปี)  เป็นระยะเริ่มต้นการขีดเขียนภาพอย่างมีความหมาย  การขีดเขียนจะปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น  สัมพันธ์กับความจริงของโลกภายนอกมากขึ้น  มีความหมายกับเด็กมากขึ้น  ซึ่งจะสังเกตได้จาก        

          ก.คนที่วาดอาจเป็น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  ตุ๊กตาที่รัก  ฯลฯ    

          ข.ชอบใช้สีที่สะดุดตาไม่คำนึงถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติการแล้วแต่สีไหนประทับใจ  ค.  ช่องไฟ  (Space) ภายในภาพยังไม่เป็นระเบียบสิ่งที่เขียนมักกระจัดกระจาย
          ง.การออกแบบ  (Design) ไม่ค่อยมีหรือไม่มีเอาเลย แล้วแต่จะนึกคิดหรือคิดว่าเป็นอย่าง
นั้นอย่างนี้
       
3.ขั้นขีดเขียน  (Schematic  Stage)  (7-9  ปี)  เป็นขั้นที่ขีดเขียนให้คล้ายของจริง  และความ
เป็นจริงจะพิจารณาได้ตามลำดับดังนี้        

           ก.  คน  รูปที่ออกมาจะแสดงพอเป็นสัญลักษณ์  ถ้าวาดรูปคนเราอาจไม่รู้ว่าเป็นคนรูปคน  และภาพที่ออกมาเป็นรูปทรงเรขาคณิต  เช่น ส่วนใดที่เด็กเห็นว่าสำคัญ น่าสนใจก็จะวาดส่วนใหญ่เป็นพิเศษ  ส่วนไหนที่ไม่สำคัญอาจตัดทิ้งไปเลย  ฉะนั้นเราจะเห็นเด็กวัยนี้วาดภาพส่วนต่างๆ  ขาดหายไป  เช่น  ลำตัว ขา เท้า ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรเลย บางทีอาจเป็นเด็กหัวโต ตาโต แขนโต ฯลฯ แล้วแต่เด็กจะให้ความสำคัญอะไรและบางที่ในรูปหนึ่งจะย้ำหลายๆ อย่าง(ซ้ำกัน) ในภาพ    

           ข.การใช้สี  ส่วนมากใช้สีตรงกับความจริง  แต่มักใช้สีเดียวตลอด  เช่น  พระอาทิตย์ต้องสีแดงตลอด  ท้องฟ้าต้องสีฟ้าตลอด  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้ใช้สีได้ถูกต้อง  และตรงกับความเป็นจริงขึ้น  ถ้าใบไม้สดต้องสีเขียว  ถ้าใบไม้แห้งต้องสีน้ำตาล  เป็นต้น      

           ค.ช่องวาง  (Space)  มีการใช้เส้นฐาน  (based  line)  แล้วเขียนทุกอย่างสัมพันธ์กันบนเส้นฐาน  เช่น  วาดรูป  คน  สุนัข  ต้นไม้  บ้าน  อยู่บนเส้นเดียวกัน ภาพที่ออกมาจะเป็นแบบลำดับเหตุการณ์  ส่วนสูง  ขนาด  ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน  เช่น  ดวงอาทิตย์  อยู่บนขอบของกระดาษ  รูปคนก็อาจสูงถึงใกล้ขอบกระดาษ  เป็นต้น        

            ง.งานออกแบบ  ไม่ค่อยดี  มักจะเขียนตามลักษณะที่ตนพอใจ
 
4.ขั้นวาดภาพของจริง (The  Drawing  Realism)  (9-11  ปี) เป็นขั้นเริ่มต้นการขีดเขียนอย่างของจริงเนื่องจากระยะนี้ตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ  เด็กเริ่มรวมกลุ่มกัน  โดยแยกชาย  หญิง  เด็กผู้ชาย  ชอบผาดโผน  เดินทางไกล  เด็กผู้หญิงสนใจเครื่องแต่งตัวเพื่อแต่งตัวงานรื่นเริง  ฉะนั้นการขีดเขียนจะแสดงออกในทำนองต่อไปนี้คือ          

            ก.คน จะเน้นเรื่องเพศด้วยเครื่องแต่งตัว แต่กระด้าง  ๆ      

            ข.สี  ใช้ตามความเป็นจริง  แต่อาจเพิ่มความรู้สึก  เช่น  บ้านคนจนอาจใช้สีมัว  ๆ  บ้านคนรวยอาจใช้สีสดๆ มีชีวิตชีวา  

            ค.ช่องว่าง  ทุกอย่างในช่องว่างเหลื่อมล้ำกันได้  เช่น  ต้นไม้บังฟ้าได้  วาดฟ้าคลุมไปถึงดินเส้นระดับ (Based  Line) ค่อยๆ หายไป รูปผู้หญิงมักเน้นลวดลาย เครื่องแต่งกายมีดอกดวง รูปผู้ชายก็ต้องเป็นรูปคาวบอย การจัดวัตถุให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องสำคัญมากในระยะนี้  เพราะเป็นระยะแรกของการพัฒนาการทางการรับรู้ทางสายตา  ซึ่งจะนำไปสู่การวาดภาพสามมิติได้อีกต่อหนึ่ง    

            ง.การออกแบบ  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้การออกแบบดีขึ้น  เป็นธรรมชาติขึ้นรู้จักการวางหน้าที่ของวัตถุต่างๆ

5.ขั้นการใช้เหตุผล (The Stage of Reasoning) (11-12  ปี) ขั้นการใช้เหตุผล ระยะเข้าสู่วัยรุ่น  เป็นระยะที่เด็กแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัว เช่น เอาบรรทัด ดินสอมาร่อนแล้วทำเสียงอย่างเครื่องบินเป็นต้น เด็กจะทำอย่างเป็นอิสระ  และสนุกสนาน  ถ้าผู้ใหญ่ทำก็เท่ากับไม่เต็มบาท ถ้าพิจารณาจากขั้นนี้จะสังเกตว่า            

            ก.การวาดคน  จะเห็นข้อต่อของคน  ซึ่งเป็นระยะเด็กเริ่มค้นพบ  เสื้อผ้าก็มีรอยพลิ้วไหว  มีรอยย่น รอยยับ คนแก่-เด็ก ต่างกันด้านสัดส่วนก็ใกล้ความจริงขึ้นมีรายละเอียดมากขึ้นแต่รายละเอียดที่จำเป็นเท่านั้นเน้นส่วนสำคัญที่เกินความจริง ชอบวาดตนเองแสดงความรู้สึกทางร่างกายมากกว่าคุณลักษณะภายนอก          

            ข.สี แบ่งเป็น 2  พวก พวกแรกจะใช้สีตามความเป็นจริง (Visually  Minded)ส่วนอีกพวก  (Non  visually  minded) มักใช้สีตามอารมณ์และความรู้สึกตนเอง เช่น ตอนเศร้าตอนมีความสุข มักแสดงออกโดยเน้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับโลกภายนอก นับเป็นงานแสดงออกซึ่งการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ            

            ค.ช่องว่าง  พวก  Visually  Minded  รู้จักเส้นระดับ  รูปเริ่มมี 3 มิติโดยการจัดขนาดวัตถุเล็กลงตามลำดับ  ระยะใกล้ไกล  ส่วนพวก  Non  Visually  Minded  ไม่ค่อยใช้รูป 3 มิติชอบวาดภาพคนและมักเขียนโดยใช้ตนเองเป็นผู้แสดง  สิ่งแวดล้อมจะเขียนเมื่อจำเป็นหรือเห็นว่าสำคัญเท่านั้น  

            ง.การออกแบบ  พวก Visually Minded ชอบออกแบบทางสวยงาม พวก Non Visually  Minded มองทางประโยชน์ อารมณ์แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่เข้าใจการออกแบบอย่างจริงจัง

                                                                          ………………………………………


เอกสารอ้างอิง

ศรียา นิยมธรรม.  (2544 ).  ศิลปะกับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.

การวาดภาพระบายสีในเด็กปฐมวัย


    
 จุดประสงค์ของการวาดภาพระบายสี สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังมีจุดประสงค์อื่นๆอีก เช่น เป็นการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือและตา ฝึกการลากเส้นและรูปทรงต่างๆ ฝึกการใช้สี ทดลองสี ผสมสีต่างๆ ส่วนในด้านอารมณ์ จิตใจทำให้ผ่อนคลายความเครียด ลดความกดดันทางอารมณ์และส่งเสริมให้มีจิตใจที่ดีงาม และทางสังคมฝึกการทำงานตามลำพังและการทำงานเป็นกลุ่ม กิจกรรมการวาดภาพระบายสี เป็นการวาดภาพหรือระบายสี โดยใช้ดินสอสี สีเทียน สีน้ำ สีโปสเตอร์ พู่กัน ฯลฯ วาดบนกระดาษ หรือวัสดุแทนอย่างอื่น สิ่งที่ครูควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมดังกล่าวคือ  ให้เด็กวาดภาพและระบายสีอย่างอิสระ  และให้เด็กเล่าสิ่งที่ทำเพื่อให้เด็กคิดก่อนลงมือทำ

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                
                                               
สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยในวัย 1 – 3 เด็กวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป เด็กในวัย 1 – 3 ปีต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระและเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตามที่ได้เห็น เด็กสามารสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางที ก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของเด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชาศิลปะเป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ้งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่การเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ สำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้ 1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา 2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง 3.การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ๆ 4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตังเอง 5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ 6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และพฤติกรรมและศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะกระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่งจินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต การวาดรูป (drawing) และการระบายสี (Painting) เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา และกิจกรรมนี้จะสอนให้เด็กๆวาดรูปได้ โดยเริ่มจากเส้นก่อน สำหรับน้องๆที่เพิ่งเริ่มหัดวาดรูป จากนั้นจะหัดวาด สิ่งต่างๆรอบตัว เด็กๆจะได้รู้จักกับรูปร่าง Shape และรูปทรง Form ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวาดในขั้นสูงต่อๆไป ส่วนการระบายสีภาพนั้นเด็กๆจะได้ฝึกใช้สีหลายๆชนิด ได้แก่ สีไม้ สีชอลค์ สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีเมจิก สีเทียน สีอะครีลิค สีผสมอาหาร พร้อมทั้งรู้วิธีการระบายสีให้เกิดความสวยงาม การปั้นหรือที่เรียกว่างานปะติมากรรม (Sculpture) เด็กๆจะได้เรียนรู้การปั้น modelling แบบง่ายๆโดยใช้ดินน้ำมันที่มีสีสันต่างๆเรียนรู้เทคนิค การปั้นแบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและลอยตัว เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือนอกจากนี้เด็กๆยังได้ทำงานปะติมากรรมแขวนหรือโมบายล์ mobile เด็กๆใช้ดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ละคนซึ้งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้รูปร่างต่างๆ กิจกรรมกระดาษ (Papers) เด็กๆจะได้ฉีก ตัด ปะ ม้วน พับขยำกระดาษต่างๆ เช่น กระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษทิชชู่ หนังสือแมกกาซีนต่างๆ ที่เป็นกระดาษอาบมัน กระดาษกล่อง ฯลฯ และนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปะต่างๆ การพิมพ์ภาพ (paint Making)เป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไปพิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้ และเด็กๆจะได้พิมพ์ภาพจากวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ ก้านกล้วย มันเทศ ฯลฯ มาทำให้เกิดเป็นภาพต่างๆ เป็นการเรียนรู้ วิธีการ และเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย การประดิษฐ์สร้างสรรค์ (Creative Crafts) เด็กๆจะได้ทำงานประดิษฐ์ ที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น กล่อง กระป๋องนม ลูกปัด หลอด ไม้ไอติม เศษผ้า ริบบิ้น ฯลฯ ทำให้เกิดประสบการณ์ทางด้านความคิด สร้างสรรค์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิเพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาด ระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลป วัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม ประโยชน์ของการส่งเสริมเด็กทางด้านศิลปะ เป็นการฝึกทักษะทางด้านศิลปะให้ดีขึ้น ให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างอิสระ รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีสมาธิในการเรียนที่ดีขึ้น และยังมีผลถึงพัฒนาการด้านอื่นๆทั้งหมด การที่เด็กได้ทำมาก ฝึกฝนมากจะยิ่งช่วยให้เด็กเกิดความชำนาญมากขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการสั่งสมประสบการณ์อันมีค่ายิ่งของเด็ก หากเด็กได้รับการสนับสนุนให้สร้างสรรค์ศิลปะ อย่างต่อเนื่องก็เท่ากับว่าเป็นทางหนึ่งซึ่งสั่งสมความคิดสร้างสรรให้เกิดขึ้นกับเด็ก อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะศิลปะมีกระบวนการ และธรรมชาติที่เอื้อแก่การพัฒนาทางสมอง เพื่อเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดยิ่งเด็กมากเท่าไร สติปัญญาของเด็กก็จะเติบโตมากเท่านั้น และหากการได้คิดมากๆ คือการทำให้สมองแหลมคม การที่เด็กได้ขีดเส้นลงไปแต่ละเส้น หรือระบายสีก็ล้วนมีผลทำให้สมองได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แหล่งอ้างอิง http://www.google.co.th/ http://www.tasapon.com/ http://www.dekthaischool.com/

การใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้


 การใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้



ที่มา : วารสารการศึกษาปฐมวัย Thai Journal of Early Childhood Education ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2547
โดย : รศ.ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก

ศิลปะ เป็นกิจกรรมของการแสดงออกความรู้ ความคิด และจินตนาการ ซึ่งสามารถนำลักษณะของความงาม และการได้ระบายออกทางอารมณ์มาเป็นสื่อการเรียนรู้ ที่สร้างให้เกิดความจำและความเข้าใจดียิ่งขึ้น


การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นภารกิจของครู และผู้ปกครองที่สำคัญยิ่งเพราะวัย 6 ขวบแรกมีพัฒนาแต่ละด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมองจะมีพัฒนาการกว่าร้อยละ 90 ของวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้นหากเด็กได้รับการสร้างเสริมที่ถูกต้อง ย่อมเป็นการช่วยให้พัฒนาการด้านรวมทั้งสติปัญญาเป็นไปอย่างเต็มศักยภาพ นักการศึกษาปฐมวัยได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยให้การเรียนการสอน เป็นตัวสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยวัยของเด็กและพัฒนาการจะพบว่า ศิลปะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก

การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการซึมซับประสบการณ์และรับไว้จนเกิดเป็นข้อความรู้ พิอาเจท์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการปรับตัว (adaptive process) ที่มีขั้นตอนการเกิดขึ้นเหมือนกับการปรับตัวทางด้านร่างกาย ที่เด็กเรียนรู้ได้จากการรับและสะท้อนผลจนเกิดเป็นพัฒนาการทางสติปัญญา กระบวนการปรับตัวนี้ประกอบด้วย กระบวนการปฏิสัมพันธ์ 2 ประการ คือ การซึมซับ (assimilation) กับการรับไว้ (accommodation) เด็กจะซึมซับข้อมูลจากการสัมผัสประสบการณ์ที่ดีและข้อมูลความรู้ที่ได้แล้วผ่านเข้าไปสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่การรับเป็นแนวคิดเป็นพฤติกรรม หรือเป็นความเชื่อ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทั้ง 2 จะทำงานเชื่อมสานกันเรียกว่า กระบวนการปรับตัว ซึ่งจะต้องอยู่ในภาวะสมดุล จึงเกิดการเรียนรู้แล้วเก็บเป็นหน่วยการเรียนรู้เกิดขึ้น (schemes) (Morrison, 2000 : 100-101)
หน่วยความรู้ (schemes) เป็นโครงสร้างของปัญญาที่บ่งบอกถึงการจัดระเบียบข้อความรู้ ซึ่งความรู้ที่เกิดขึ้นนี้อาจเปลี่ยนไปได้ตามประสบการณ์ที่ได้รับ ประสบการณ์มากการเรียนรู้และเข้าใจจะมากขึ้น เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการได้สัมผัส หยิบจับ ได้เล่นหรือได้จากประสบการณ์ตรงในขณะที่เด็กได้รับประสบการณ์ เด็กได้ทำกิจกรรมหรือเด็กได้เล่น เด็กจะเรียนรู้จากการสัมผัสและจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในตัววัสดุที่พบเกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้รับนี้จะพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการ ทำให้เกิดกระจ่างรู้ซึ่งจะเร็วช้าในแต่ละคนต่างกัน แต่จะมีกระบวนการสะสมข้อมูลเป็นหน่วยความรู้เหมือนกัน การให้ประสบการณ์อย่างเดียวกันซ้ำ ๆ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เข้าใจและจำได้

การสร้างความจำ
การจำมีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากผู้นั้นมีการสะสมความรู้ สำหรับเป็นฐานความคิดและพัฒนาความงอกงามของปัญญาไว้แล้วสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ ด้วยความสำคัญของการจำให้คนพยายามที่จะค้นหาวิธีการสร้างความจำให้เกิดขึ้นการท่องจำเป็นวิธีการหนึ่งที่มีการนำมาใช้มาก เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถจำและเก็บนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งจากการศึกษาในระยะหลังพบว่าการท่องเป็นการสร้างความจำได้ แต่ไม่ได้หมายถึงความเข้าใจ การท่องเป็นการเก็บงำความรู้ไว้ในสมอง ส่วนการนำกลับมาใช้เป็นการไตร่ตรองการคิด ดังนั้นการจำด้วยการท่องจึงมีความจำกัด อีกทั้งอัตราการจำด้วยการท่องมีน้อย น้อยกว่าการจำด้วยความเข้าใจ หรือประทับใจ สำหรับการเรียนรู้ของคน มีระบบความจำ อยู่ 3 ระบบ คือ ระบบการจำจากสัมผัส ระบบการจำระยะสั้น และระบบการจำระยะยาว

ระบบการจำจากการสัมผัสเป็นภาวะการสะท้อนผลของการสังเกตและจำเร็ว เช่น จำได้เพราะเห็นแว็บ ๆ เห็นผ่าน ๆ ส่วนระบบการจำระยะสั้น เป็นการเก็บข้อมูลที่จำนวนไม่มาก ถ้าไม่ได้ฟังซ้ำจะลืม แต่สิ่งที่คนต้องการคือความจำระยะยาว ซึ่งลักษณะการจำอาจเป็นจำภาพได้ จำแล้วอธิบายได้ หรือจำแล้วกระทำได้ การจำทุกชนิดมีโอกาสลืมแต่ลืมเร็วลืมช้าต่างกัน วิธีการสร้างความจำมีหลายวิธีวิธีแรกคือ การบันทึก การท่อง การท่องและเขียน การทำรหัสบันทึกย่อ การเล่ารื่อง การหาประสบการณ์เสริม แต่ละกระบวนวิธีสร้างความจำดังกล่าวให้ผลต่อระยะการจำแตกต่างกันมาก จำเป็นต้องค้นหาเครื่องมือมาสร้างความจำ ด้วยการทำให้เกิดการคิด จินตนาการเชื่อมโยง ที่นำไปสู่การเก็บความจำไว้ในสมองได้นาน เช่น การเชื่อมโยงสาระให้เกิดจำ หรือใช้สถานที่เป็นตัวกำหนดการจำ หรือแต่งโคลงคล้องจองต่อเนื่อง วิธีการเหล่านี้เรียกว่า Mnemonic (นิ-มอน-อิค) devices เป็นเทคนิคช่วยการจำ (Roediger lll, 1984 : 266) ความจำมีความสำคัญเพราะจะช่วยให้เกิดการสะสมหน่วยความรู้ (schemes) ซึ่งประสบการณ์ต่อ ๆ ไปจะขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น สำหรับความจำนี้เด็กอายุมากขึ้น จะจำได้แม่นยำ และนานขึ้น แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ความจำจะถอยลงตามสมรรถภาพของสมอง<![endif]>
การกระตุ้นความจำเพื่อการเรียนรู้ด้วยงานศิลปะ

ดังกล่าวแล้วว่าได้มีผู้พยายามพัฒนาวิธีการสร้างความสามารถในการจำของคนให้สูงขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเน้นองค์ประกอบสำคัญของการจำคือ ความสั้นง่าย น่าสนใจ และสนุกกับการจำ หากสิ่งที่กำลังจำนั้นสร้างให้เกิดความพอใจ โอกาสที่เด็กจะจำได้นานมีสูง เด็กที่จำได้มีโอกาสที่จะเรียนได้เร็วและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ มีมาก ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงพบว่ามีการกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยความเพลิดเพลินและความสนใจของเด็ก ต่อมาระยะหลังได้มีผู้นำศิลปะมาใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ ซึ่งมิใช่เพื่อให้มีการแสดงออกในตนเองและจินตนาการเท่านั้น ยังเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้กับครูและเด็ก เด็กสามารถรู้ว่าตนเองรู้อะไร คิดอย่างไร และจะบอกหรือสื่อให้ใครรู้ การจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย เป็นการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้เด็กถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ผ่านผลงานศิลปะ อาจเป็นการวาดภาพงานปั้น งานแต่ง ไม่ว่าเด็กจะคิดทำสิ่งใด เด็กต้องสื่อความคิด แผนงานและจินตนาการของตนเองผ่านทางศิลปะ

ศิลปะช่วยให้เด็กเชื่อสานและบูรณาการประสบการณ์ที่มี เด็กสามารถผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ สังคม คณิตศาสตร์ ภาษาลงในศิลปะที่เด็กแสดงออก การจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมีเลีย (Reggio Emilia) ได้เน้นการใช้ศิลปะเป็นแกนประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้โครงการเป็นฐานของการเรียน ซึ่งปกติแล้วการเรียนแบบโครงการ (project approach) จะเน้นให้เด็กเล่นและเรียนในสิ่งที่เด็กสนใจหรือสิ่งที่ครูริเริ่ม โดยสนองตอบความต้องการของเด็ก เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและแสดงออกอย่างอิสระ สื่อศิลปะเป็นรูปแบบโดยธรรมชาติ ที่ทำให้มีการแสดงออกและการค้นคว้าที่นำไปสู่การเรียนรู้ของเด็กและเข้าใจโลก (Gordon and Browne, 1993 : 362) ซึ่งทำให้เด็กได้คิดพัฒนาสร้างสรรค์ จากการถ่ายโยงภาพที่เห็นเป็นศิลปะของการเรียนรู้ที่สำคัญ เด็กได้ทั้งสุนทรีภาพในงานศิลปะควบคู่ไปกับการเรียนสาระวิชา

ด้วยลักษณะของศิลปะ นักการศึกษา จึงได้นำศิลปะมาเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการความรู้สึกที่ดีของเด็ก กับหน่วยประสบการณ์ของเด็กไปสู่สาระหลักฐานที่จะเรียนรู้ เพื่อเป็นการจูงใจสร้างการมีส่วนร่วมที่เรียและการเรียนรู้ (Brewer, 1995 : 320 อ้างถึง Edwards) ซึ่งการนำศิลปะมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอนุบาลอย่างน้อยมี 3 ลักษณะดังนี้ (Brewer, 1995 : 320)

1.ใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จินตนาการ ผ่อนคลายความเครียด เพลิดเพลิน สนุกสนาน และการพัฒนากล้ามเนื้อมือ ความสัมพันธ์ของประสาทระหว่างตากับมือ
2.ใช้เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการแบบบูรณาการ การจัดกิจกรรมศิลปะจะเน้นการมีส่วนร่วม การแก้ปัญหา การทำงานเป็นกลุ่มการปรับตัวในการทำงาน การสร้างนิสัยทางสังคมที่ดี

3.ใช้เพื่อการสร้างการเรียนรู้ทางวิชาการ ซึ่งศิลปะสามารถสื่อและนำมาใช้ได้ เพราะจะทำให้เด็กได้เข้าใจ จำ และถ่ายทอดสิ่งนรู้ออกมาก โดยเฉพาะศิลปะสร้างสรรค์จะช่วยให้เด็กเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ได้
จุดประสงค์ของการใช้ศิลปะในการเรียนการสอน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้ศิลปะเป็นกิจกรรมจำเป็นอย่างหนึ่ง สำหรับเด็กปฐมวัยในกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2540 : 27) ตัวอย่างเช่น วาดภาพ ระบายสี, ฉีก ปะกระดาษ, ปั้น, ประดิษฐเศษวัสดุ

ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ให้ความสำคัญกับกิจกรรมศิลปะมากโดยกำหนดอยู่ในชั่วโมงกิจกรรสร้างสรรค์ และในทุกโรงเรียนต่างให้ต่างจัดกิจกรรมศิลปะ ให้กับเด็กทุกวันไม่ว่าจะเป็นวาดภาพ ระบายสี ปั้นประดิษฐ์ เล่นดนตรี หรือบางแห่งมีการแสดงด้วยประโยชน์นี้ได้จากศิลปะคือ (Jalongo, 1990 : 196)

1. การสร้างงานศิลปะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้จากภายในแล้วถ่ายออกสู่ภายนอก เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการสะท้อนผล

2. การแสดงออกทางศิลปะ ส่งเสริมความสามารถของเด็กในการแปลสัญลักษณ์

3. การแสดงออกทางศิลปะ สร้างเสริมความสามารถของเด็กในการแปลสัญลักษณ์

4. การแสดงออกทางศิลปะทำให้เด็กเป็นผู้ทำอย่างมีความหมายและเป็นผู้สร้าง เป็นผู้ค้นพบ และทำความรู้ให้เป็นรูปร่างขึ้นมากกว่าเป็นผู้รับรู้ในสิ่งที่รู้แล้ว

การให้เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมศิลปะนั้นจุดหมายสำคัญอยู่ที่การส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก การส่งเสริมพัฒนาการ ซึ่งในแง่การศึกษาการนำศิลปะศึกษามาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการเตรียมเด็กให้โตขึ้นเป็นศิลปิน หรือจิตรกร (เลิศ อานันทะ, 2535 : 44)

การแสดงออกที่เด็กสามารถวาดภาพได้ดีนั้น ขึ้นอยู่กับทักษะการใช้มือตามระดับสติปัญญาทางศิลปะ ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้จินตนาการ การสร้างสรรค์และความสามารถในการตัดสินใจด้านสุนทรียภาพ การเลี้ยงดู ดังนั้นการที่เด็กแสดงความสามารถทางศิลปะได้เด่นชัดไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินเสมอไป (ศรียา นิยมธรรม, 2545 : 53)
ประเภทของศิลปะที่ใช้ในการสร้างการเรียนรู้

ดังกล่าวมาแล้วว่าศิลปะสามารถสร้างสรรค์การเรียนรู้ได้ อย่าลืมว่าเป้าหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย เน้นที่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสติปัญญา ซึ่งศิลปะจะเป็นแกนของการพัฒนาได้ เพราะเด็กได้แสดงออกถึงพุทธิปัญญาทั้งหมดที่มีและกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางศิลปะ เด็กเล็กต้องสัมผัสและการกระตุ้นสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ศิลปะเป็นกิจกรรมที่เด็กสัมผัสได้ สามารถระบายความคิด ความรู้ และสื่อบอกให้คนอื่นรู้ นอกจากนั้น ศิลปะยังเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินที่กระตุ้นการเรียนรู้ ซึ่งการนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ จำแนกได้เป็น 6 ลักษณะดังนี้
ย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ เรียกว่า ศิลปะย้ำ
ถ่ายทอดการเรียนรู้ศิลปะ เรียกว่า ศิลปะถ่ายโยง
ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลป์ เรียกว่า ศิลปะปรับภาพ
เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้ส่งงานศิลป์ เรียกว่าศิลปะเปลี่ยนแบบ
บูรณาการการเรียนรู้ที่สู่ศิลปะ เรียกว่า ศิลปะบูรณาการ
ค้นหาความรู้จากศิลปะ เรียกว่า ศิลปะค้นหา
ศิลปะย้ำ

การเรียนรู้ไม่ใช่การท่องจำ แต่การจำเป็นฐานของการเรียนรู้ การจำทำให้คนเกิดวิธีการสร้างความจำ มีหลายวิธีโดยเฉพาะที่ใช้กันมากคือท่องจำ เขียนซ้ำหลาย ๆ จบ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความจำระยะสั้น การเข้าใจจะทำให้เกิดความจำระยะยาวส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าเสริมซ้ำจะทำให้การจำระยะยาวมีเพิ่มมากขึ้น การใช้ศิลปะอย่างหนึ่งคือการนำศิลปะมาย้ำการเรียนรู้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ครูสามารถจัดเป็นกิจกรรมขณะเรียนหรือให้เป็นการบ้าน ด้วยการให้ระบายสีลงในรูปภาพที่เรียน ตัวอย่างเช่น เด็กเรียน ก. ไก่แล้ว เพื่อให้จำได้ ครูมอบหมายให้เด็กระบายสีอักษร ก. และระบายสีภาพไก่ในใบงานต่อไปนี้ ศิลปะย้ำนี้ใช้ เพื่อสร้างเสริมการจำจากความประทับใจขณะทำกิจกรรมศิลปะ



วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

การเป่าสีด้วยหลอดกาแฟ

การเป่าสีด้วยหลอดกาแฟ






จุดประสงค์
1.เด็กสามารถใช้มือหยิบ - จับหลอดกาแฟ แล้วเป่าสีให้ไหลกระจายไปในทิศทางต่าง ๆ จนทั่วแผ่นกระดาษได้
2.เด็กสามารถบอกหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำได้
3.เด็กสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน
วัสดุ – อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.หลอดกาแฟ
3.สีน้ำ
4.ภาชนะสำหรับใส่สี
5.พู่กัน
6.ผ้ากันเปื้อนหรือเสื้อคลุม
7.ผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์สำหรับปูรองพื้นโต๊ะ
วิธีทำ
1.ผสมสีน้ำลงในภาชนะที่เตรียมไว้โดยผสมสีน้ำให้เหลวพอประมาณเมื่อเป่าแล้วสีสามารถไหลและกระจายไปได้
2.ใช้พู่กันจุ่มสีน้ำ แล้วหยดลงบนกระดาษ โดยใช้สีหลาย ๆ สี
3.ใช้หลอดกาแฟ เป่าสีน้ำ ให้ไหลและกระจายไปในทิศทางต่าง ๆจนทั่วแผ่นกระดาษ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
1.พัฒนากล้ามเนื้อมือ
2.พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
3.พัฒนาภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง
4.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5.ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรมและพึงพอใจในผลงานของตนเอง


ศิลปะกับเด็กปฐมวัย

  ศิลปะกับเด็กปฐมวัย
       เด็กปฐมวัยในวัย 1 – 3 เด็กวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
      ไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป
      เด็กในวัย 1 – 3 ปีต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระและเสรีภาพ  คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง
     วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตามที่ได้เห็น เด็กสามารสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางที ก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของเด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชาศิลปะเป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ้งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่การเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป
   ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล  ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ สำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้  
1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
3.การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ๆ
4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตังเอง
5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ
6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม
       จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และพฤติกรรมและศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะกระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่งจินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต  
การวาดรูประบายสีเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา 
การปั้น  
                                                               
   การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ละคนซึ้งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้รูปร่างต่างๆ
 การพิมพ์   
  การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไปพิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้     
 เรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร
      ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิเพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาด ระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลป วัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม
    แหล่งข้อมูลหนังสือแนวการจัดกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา